สภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร

1.  ลักษณะทางกายภาพ
1.1  ที่ตั้ง จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ  531  กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 1, 2, 202) และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  2  (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ) 
 

ภาพแสดงที่ตั้งและขอบเขตของจังหวัดยโสธร

          1.2  ขนาดพื้นที่  จังหวัดยโสธรมีพื้นที่  4,161.444  ตารางกิโลเมตร  หรือ 2,600,902.5 ไร่   คิดเป็นร้อยละ  0.81  ของพื้นที่ทั่วประเทศ  และคิดเป็นร้อยละ  12.89  ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด

ที่

อำเภอ

พื้นที่

ระยะทาง (กม.)

ไร่

ตร.กม.

1

เมืองยโสธร

361,375

578.200

-

2

เลิงนกทา

589,250

942.800

69

   3    

คำเขื่อนแก้ว

399,000

638.400

23

4

มหาชนะชัย

284,542.5

455.268

41

5

กุดชุม

340,000

544,000

37

6

ป่าติ้ว

192,500

308.000

28

7

ค้อวัง

93,750

150.000

70

8

ทรายมูล

170,485

272.776

18

9

ไทยเจริญ

170,000

272.000

50

รวม

2,600,902.5

4,161.444

-

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

1.3  ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
                    สภาพพื้นที่หรือลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดยโสธร  มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น  มีสภาพเป็นป่าและมีแหล่งน้ำขนาดกลาง ได้แก่ ห้วยลิงโจนห้วยสะแบก  ลำโพง ลำเซบาย ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ เป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับซับซ้อนกับสันดินริมน้ำ  มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่  ได้แก่ แม่น้ำชี  และขนาดกลาง  ได้แก่  ลำน้ำยัง  ลำทวนไหลผ่าน  ลักษณะดินส่วนมากเป็นดินทรายและดินเค็ม  มีหนอง บึง ลำห้วย และแหล่งน้ำขนาดเล็กอยู่ทั่วไป  พื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล   สำหรับภูมิอากาศ จังหวัดยโสธรมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว  ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ 71.1%  อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส   อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 5 ปี (2552 – 2555) เฉลี่ย 1,600 ม.ม.ต่อปี 

2.  การปกครองและประชากร
2.1  การปกครอง
2.1.1  อาณาเขต  จังหวัดยโสธรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้
ทิศเหนือ           ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี
ทิศใต้             ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
2.1.2  การปกครองท้องที่  และการปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่

อำเภอ

จำนวน

ตำบล

หมู่บ้าน

อบจ.

เทศบาลนคร

เทศบาลเมือง

เทศบาลตำบล

อบต.

1

เมืองยโสธร

17

190

1

-

1

5

12

2

เลิงนกทา

10

145

-

-

-

9

3

3      

คำเขื่อนแก้ว

13

115

-

-

-

2

12

4

มหาชนะชัย

10

103

-

-

-

1

10

5

กุดชุม

9

128

-

-

-

1

9

6

ป่าติ้ว

5

57

-

-

-

1

5

7

ค้อวัง

4

45

-

-

-

1

4

8

ทรายมูล

5

54

-

-

-

2

4

9

ไทยเจริญ

5

48

-

-

-

1

4

 

รวม

78

885

1

-

1

23

63

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร

1)  จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 78 ตำบล 885 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง
2)  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ จำนวน 88 แห่ง แยกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง

2.1.3  จังหวัดยโสธรมีส่วนราชการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด จำนวน  32  ส่วนราชการ 
ส่วนราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัด  จำนวน  36 ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ จำนวน  7  แห่ง
2.1.4   องค์กรพัฒนาเอกชนในจังหวัด  จังหวัดยโสธรมีองค์กรเอกชนในหลายลักษณะเพื่อพัฒนาสังคม  คุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ มูลนิธิ  สมาคม สโมสร  ชมรม  และกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งองค์กรที่เด่นชัด และมีบทบาท เช่น หอการค้าจังหวัดยโสธร สภาอุตสาหกรรมจังหวัด  สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพจังหวัด  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิรวมสามัคคี  และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ที่เป็นองค์กรพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิเช่น  กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ อำเภอกุดชุม กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย กลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน อำเภอค้อวัง  ซึ่งจะผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยและอินทรีย์ส่งต่างประเทศ และมีกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปต่างๆ
2.2  ประชากรและโครงสร้างประชากร
1) ข้อมูลประชากรจังหวัดยโสธร ย้อนหลัง 5 ปี (2552 – ปัจจุบัน)

ที่

พ.ศ.

เพศชาย (คน)

เพศหญิง (คน)

รวม (คน)

หมายเหตุ

1

2552

270,734

268,400

539,134

 

2

2553

270,682

268,575

539,257

 

3

2554

270,306

268,547

538,853

 

4

2555

270,933

269,194

540,127

 

5

2556

271,034

269,208

540,242

(31 ส.ค. 56)

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

2)  ประชากร จังหวัดยโสธรมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 540,242 คน เป็นชาย 271,034 คน และหญิง 269,208 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 155,884 ครัวเรือน มีอัตราการเพิ่มธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 0.45 ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 130 คน/ ตารางกิโลเมตร

ที่

อำเภอ

ตำบล

หมู่บ้าน

ครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1

เมืองยโสธร

17

190

42,255

65,738

64,847

130,585

2

เลิงนกทา

10

145

27,159

47,771

47,856

95,627

3

คำเขื่อนแก้ว 

13

115

18,664

34,001

33,729

67,730

4

มหาชนะชัย 

10

103

14,652

28,939

28,675

57,614

5

กุดชุม

9

128

19,830

33,382

32,932

66,314

6

ป่าติ้ว            

5

57

10,117

17,676

17,516

35,192

7

ทรายมูล

5

54

8,456

15,554

15,540

31,094

8

ค้อวัง  

4

45

6,394

12,785

12,972

25,757

9

ไทยเจริญ

5

48

8,357

15,188

15,141

30,329

รวม

78

885

155,884

270,034

269,208

540,242

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556)  

3.  โครงสร้างพื้นฐาน
3.1  ไฟฟ้า จากการสำรวจข้อมูล กชช. 2 ค ปี 2556 จังหวัดยโสธรมีหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ไม่ครบ ทุกครัวเรือน จำนวน 3 หมู่บ้าน เนื่องจากมีการสร้างบ้าน ในเขตห่างไกลชุมชน ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดเป้าหมายขยายให้ครบทุกครัวเรือน
3.2  ประปา จังหวัดยโสธรมีสำนักงานประปาภูมิภาค 5 แห่ง บริการในเขตเทศบาลและบริเวณใกล้เคียงในชุมชน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอคำเขื่อนแก้ว ส่วนอำเภอที่เหลือเป็นประปาของเทศบาลตำบลหรือใช้ระบบปั๊มน้ำบาดาลสำหรับในเขตชนบท จากการสำรวจข้อมูล กชช. 2ค ปี 2556 จำนวน 885 หมู่บ้าน ใช้ระบบประปาหมู่บ้านหรือลักษณะประปาหมู่บ้านเพื่อเป็นน้ำใช้ จำนวน 839 แห่ง และยังไม่มีระบบประปาหมู่บ้านหรือน้ำใช้เพียงพอทุกครัวเรือน จำนวน 46 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้อาจมีหลายแห่งไม่สามารถทำการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติมได้อีกเพราะมีปัญหาปริมาณน้ำหรือไม่มีคุณภาพ จะต้องจัดหาแหล่งน้ำผิวดินมาเป็นน้ำดิบต่อไป 

ที่

พ.ศ.

จำนวนน้ำที่ผลิต (ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำที่จำหน่าย (ลบ.ม.)

จำนวนผู้ใช้น้ำประปา (ราย)

1

2552

3,413,473

2,567,090

9,148

2

2553

3,589,414

2,771,951

9,588

3

2554

3,504,236

2,802,065

10,009

4

2555

3,684,418

2,916,127

10,452

ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร  

3.3  โทรศัพท์
จังหวัดยโสธรมีชุมสายโทรศัพท์ในทุกอำเภอ รวม 16 ชุมสาย มีหมายเลขให้เช่า 17,872 เลขหมาย มีผู้เช่า 12,989 เลขหมาย เป็นโทรศัพท์สาธารณะ 1,564 เลขหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย GSM เครือข่าย DTAC และเครือข่าย TRUEMOVE ครอบคลุมทุกพื้นที่ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้

ที่

พ.ศ.

ชุมสายโทรศัพท์ (ชุมสาย)

จำนวนเลขหมายที่ให้บริการ (เลขหมาย)

เลขหมายที่มีผู้เช่า (เลขหมาย)

จำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ADSL (ราย)

1

2552

43

17,440

13,104

2,972

2

2553

43

17,872

13,045

4,782

3

2554

51

17,872

13,185

5,847

4

2555

51

17,872

12,989

6,627

5

2556

51

17,872

12,989

6,627

ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขายโสธร  

3.4  การคมนาคม
จังหวัดยโสธร มีเส้นทางคมนาคมโดยทางรถยนต์อย่างเดียว โครงข่ายถนนเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
โดยเส้นทางถนน เป็นทางหลวงแผ่นดิน 7 สาย ระยะทาง 320 กิโลเมตร ทางหลวงท้องถิ่น 245 สาย ระยะทาง 898 กิโลเมตร  ผิวจราจรส่วนใหญ่ เป็นทางลูกรัง และทางหลวงชนบท 22 สาย ระยะทาง 460 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 411 กิโลเมตร และลูกรัง 49 กิโลเมตร  สภาพถนนทางหลวงท้องถิ่นและทางหลวงชนบทดังกล่าวส่วนมาก มีสภาพชำรุดเสียหาย เนื่องจากมีการใช้รถสัญจรและขนส่งสินค้าเกษตรมาก และมีงบประมาณ ไม่เพียงพอมาปรับปรุง  ทำให้ไม่สะดวกและปลอดภัยในการสัญจรและการขนส่งสินค้าเกษตรของประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ

3.5  การสื่อสารคมนาคม
3.5.1  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 9 แห่ง
3.5.2  สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 5 แห่ง และมีสถานีวิทยุชุมชนกระจายอยู่ในตำบล หมู่บ้าน จำนวน 55 แห่ง
3.5.3  หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มีหนังสือพิมพ์เสียงมวลชนยโสธร มีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่องประจำจังหวัด
3.5.4  จังหวัดยโสธร จัดทำ Web site เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลของจังหวัด โดยเรียกดูได้ที่ http://www.yasothon.go.th  และประสานติดต่อข่าวสารราชการกับจังหวัดยโสธรได้ที่ E–Mail : yasothon@moi.go.th หรือกลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดยโสธร           โทร 0-4571-4212 โทรสาร 0-4571-1567 (มท.)  43529

 3.6  การใช้ที่ดินจากพื้นที่ 2,600,902 ไร่ แยกเป็น
3.6.1  พื้นที่ป่าสงวน 712,822 ไร คิดเป็นร้อยละ 27.41 ของพื้นที่จังหวัด
3.6.2  พื้นที่อยู่อาศัย 34,776 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของพื้นที่จังหวัด
3.6.3  พื้นที่ถือครองทางการเกษตร 1,623,649 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62.42  ของพื้นที่จังหวัด
3.6.4  อื่นๆ 29,655 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.83 ของพื้นที่จังหวัด
จากข้อมูลการสำรวจข้อมูล กชช. 2ค. ปี 2556 มีหมู่บ้านที่เกษตรกรมีปัญหาที่ดินทำกิน จำนวน 44 หมู่บ้าน

ที่

พ.ศ.

จำนวนพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่า (ไร่)

คิดเป็นร้อยละ (เทียบกับพื้นที่ของจังหวัดทั้งหมด)

1

2552

272,725

10.49

2

2553

272,725

10.49

3

2554

272,725

10.49

4

2555

272,725

10.49

5

2556

272,725

10.49

ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร  

3.7  แหล่งเก็บกักน้ำ
3.7.1  แหล่งน้ำกินน้ำใช้ จากผลการสำรวจข้อมูล กชช. 2 ค. และ จปฐ. ปี 2556 ในเขตชนบท จำนวน 885 หมู่บ้าน พบว่ามีแหล่งน้ำผิวดินในลักษณะต่างๆ แต่ส่วนมากมีน้ำไม่ตลอดปี สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินมีจำนวนบ่อบาดาลสาธารณะใช้การได้ 1,845 บ่อ บ่อบาดาลส่วนตัว 8,789 บ่อ บ่อน้ำตื้นสาธารณะ 1,115 บ่อ และบ่อน้ำตื้นส่วนตัว 8,217 บ่อ ซึ่งในหลายหมู่บ้านที่ไม่มีประปา เพราะน้ำดิบไม่เพียงพอและในบางหมู่บ้านไม่มีบ่อบาดาลสาธารณะเพราะไม่สามารถขุดเจาะได้ต้องใช้แหล่งน้ำผิวดิน
3.7.2  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ
-  โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 2 แห่ง คือ ห้วยลิงโจน และห้วยสะแบก เก็บน้ำได้ 45.20 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 27,216 ไร่
-  โครงการชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 193 แห่ง กระจายทั่วทั้งจังหวัด       เก็บน้ำได้  15  ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 75,929 ไร่
-  โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 60 แห่ง โดยสูบน้ำ
จากแม่น้ำชี ลำน้ำยัง ลำห้วยโพง/เซบาย  รวมเนื้อที่ประมาณ  87,510  ไร่
-  เมื่อรวมพื้นที่จากโครงการชลประทานจากแหล่งน้ำต่าง ๆ และพื้นที่ชลประทานตามโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแล้ว จะมีพื้นที่ชลประทาน 190,655 ไร่  คิดเป็นร้อยละ 11.74 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด
-  สระเก็บกักน้ำสาธารณะมีเกือบทุกหมู่บ้าน  ส่วนมากเก็บกักน้ำไม่ได้ตลอดปี   เพราะไม่ได้ปรับปรุง เนื่องจากขาดงบประมาณหรือขาดการร่วมมือกันดูแล ให้เก็บกักน้ำได้ยาวนาน
-  สระเก็บน้ำในไร่นาของเกษตรกรที่เกษตรกรขุดเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ มีประมาณ 1,200 ราย
- พื้นที่บางส่วนในทุกปี ประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งซ้ำซาก ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากเกิดจากสภาพดิน สภาพภูมิประเทศและต้องแก้ไข เป็นระบบพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

4. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
4.1 โครงสร้างเศรษฐกิจ   ขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด
ในปี 2556 โครงสร้างการผลิตตามมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) จังหวัดยโสธร จำนวน 16 สาขา มีมูลค่า 21,160 ล้านบาท อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.02 มูลค่าผลิตภัณฑ์ เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita : GPP) จำนวน 34,181 บาท จัดเป็นลำดับที่ 14 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลำดับที่ 69 ของประเทศ โดยสาขาการผลิตที่ทำรายได้มากที่สุด คือ สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ การป่าไม้ มีมูลค่า 5,115 ล้านบาท รองลงมา คือ สาขาการศึกษา มีมูลค่า 3,804 ล้านบาท และสาขาอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า 2,425 ล้านบาท ตามลำดับ

ที่

พ.ศ.

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) (ล้านบาท)

รายได้เฉลี่ยต่อคน (บาท)

ข้อมูลจาก สศช.

ข้อมูลจาก สนง.คลังจัดเก็บ (Bottom Up)

ข้อมูลจาก สศช.

ข้อมูลจาก สนง.คลังจัดเก็บ (Bottom Up)

1

2551

20,262

19,034

33,102

31,096

2

2552

22,006

21,897

35,787

35,610

3

2553

23,900

25,975

38,722

42,084

4

2554

21,160

28,568

34,181

46,147

ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัดยโสธร  

ตามข้อมูล จปฐ. ปี 2556 ในเขตชนบท สำรวจ 92,976 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 351,174 คน มีรายได้เฉลี่ย 48,713.63 บาท/คน/ปี มีครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี จำนวน 579 ครัวเรือน

ที่

พ.ศ.

จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. (คร.)

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (บาท)

หมายเหตุ

1

2552

3,413,473

2,567,090

9,148

2

2553

3,589,414

2,771,951

9,588

3

2554

3,504,236

2,802,065

10,009

4

2555

3,684,418

2,916,127

10,452

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร  

การประกอบอาชีพ มีประชากรวัยแรงงาน (16-60 ปี) จำนวน 373,041 คน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม รองลงไปเป็นอาชีพภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรม ภาคขนส่งและภาคบริการตามลำดับ

ที่

พ.ศ.

จำนวนกำลังแรงงาน (คน)

ผู้มีงานทำ (คน)

ผู้ว่างงาน (คน)

รอฤดูกาล (คน)

1

2552

390,095

381,612

2,447

-

2

2553

386,140

380,129

2,451

3,560

3

2554

374,143

367,595

555

5,993

4

2555

381,752

394,434

90

14,331

5

2556

381,211

371,622

1,542

8,047

ที่มา : สำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร 

4.2 ภาคการผลิตที่สำคัญของจังหวัด
4.2.1 ภาคการเกษตร จังหวัดมีพื้นที่การเกษตรกรรม  (เพาะปลูกและปศุสัตว์ / ประมง)  1,623,649  ไร่
1) สาขาการผลิตพืช   ในปี 2556  มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่เพาะปลูก   ได้แก่
1.1) ข้าวนาปี พื้นที่เพาะปลูก 1,494,206 ไร่ และข้าวนาปรัง 99,448 ไร่ โดยข้าวนาปีที่ปลูกเป็นข้าวเจ้าธรรมดาและข้าวเจ้าหอมมะลิ มีพื้นที่ปลูก 1,157,461 ไร่ ข้าวเหนียว 336,745 มีการปลูกข้าวหอมมะลิปลอดภัยและอินทรีย์ที่อำเภอกุดชุม อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง พื้นที่ปลูก 35,350 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 350 ก.ก./ไร่ ดำเนินการ โดยกลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ และกลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน ซึ่งจะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศตามมาตรฐานที่ผู้สั่งซื้อกำหนด
1.2) มันสำปะหลัง พื้นที่เพาะปลูก 196,141 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,028 ก.ก./ไร่
1.3) ยางพารา พื้นที่เพาะปลูก 92,138 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 225 ก.ก./ไร่
1.4) อ้อยโรงงาน พื้นที่เพาะปลูก 47,844 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7,915.60 ก.ก./ไร่
1.5)ถั่วลิสง พื้นที่เพาะปลูก 552.00 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 340.58 ก.ก./ไร่
1.6) ข้าวโพดหวาน พื้นที่เพาะปลูก 277 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,581.32 ก.ก./ไร่
1.7) แตงโม พื้นที่เพาะปลูก 712 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,456.72 ก.ก./ไร่
1.8) กล้วยน้ำว้า พื้นที่เพาะปลูก 544 ไร่
1.9) พริกขี้หนูสวน พื้นที่เพาะปลูก 442 ไร่
1.10) หอมแดง พื้นที่เพาะปลูก 1,592 ไร่
1.11) ผักบุ้งจีน พื้นที่เพาะปลูก 374.50 ไร่
1.12) คะน้า พื้นที่เพาะปลูก 126.00 ไร่
1.13) ถั่วฝักยาว พื้นที่เพาะปลูก 218.00 ไร่
ข้อมูลการผลิตข้าวเจ้านาปี

ที่

พ.ศ.

พื้นที่ปลูก (ไร่)

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย กก./ไร่

ปริมาณจำหน่าย (ตัน)

รายได้จากการจำหน่าย (บาท)

ราคา/ตัน (บาท)

1

2552

813,792

503,153

208,449

414

125,069

1,800,999,360

14,400

2

2553

900,170

898,717>

395,331

40

237,198

3,629,138,580

15,300

3

2554

1,102,281

1,008,845

458,763

455

275,257

4,099,964,931

14,895

4

2555

1,093,986

931,449

430,469

462

258,281

5,062,315,440

19,600

ข้อมูลการผลิตข้าวเจ้านาปรัง

ที่

พ.ศ.

พื้นที่ปลูก (ไร่)

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย กก./ไร่

ปริมาณจำหน่าย (ตัน)

รายได้จากการจำหน่าย (บาท)

ราคา/ตัน (บาท)

1

2552

25,029

25,009

20,444

817

16,355

192,991,360

11,800

2

2553

10,5569

10,5523

87,172

826

69,738

627,638,400

9,000

3

2554

14,8414

14,8414

93,355

629

74,684

724,840,000

10,000

4

2555

16,0610

16,0521

116,204

724

92,963

1,375,855,360

14,800

ข้อมูลการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัย (GAP)

ที่

พ.ศ.

พื้นที่ปลูก (ไร่)

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย กก./ไร่

ปริมาณจำหน่าย (ตัน)

รายได้จากการจำหน่าย (บาท)

ราคา/ตัน (บาท)

1

2553

11,500

11,500

5,060

440

3,036

46,450

15,300

2

2554

4,000

4,000

1,820

455

1,092

16,265

19,600

3

2555

30,600

30,600

14,137

462

84,823

1,662,537

19,600

ข้อมูลการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์

ที่

พ.ศ.

พื้นที่ปลูก (ไร่)

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย กก./ไร่

ปริมาณจำหน่าย (ตัน)

รายได้จากการจำหน่าย (บาท)

ราคา/ตัน (บาท)

1

2553

6,413

6,413

2,565

400

2,052

32,834

16,000

2

2554

6,266

6,266

2,506

400

2,005

30,076

15,000

3

2555

6,300

6,300

2,520

400

2,016

42,336

21,000

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร 

ข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

ที่

พืชเศรษฐกิจ

พ.ศ.

ผลผลิต (ตัน)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

แหล่งปลูกที่สำคัญ (อำเภอ)

ปริมาณจำหน่าย (ตัน)

มูลค่าการจำหน่าย (บาท)

1

ยางพารา

2552

2553

2554

2555

2556

2,637

3,293

4,349

1,664

5,628

59,726

64,422

73,451

90,298

92,138

เลิงนกทา กุดชุม เมืองยโสธร ป่าติ้ว ไทยเจริญ คำเขื่อนแก้ว ทรายมูล

2,637

3,293

4,349

1,664

5,628

163,414,890

302,001,030

521,880,000

148,397,842

359,854,320

2

มันสำปะหลัง

2552

2553

2554

2555

2556

331,624

161,681

482,901

181,952

348,032

140,103

159,065

243,285

118,377

196,141

เมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ค้อวัง เลิงนกทา กุดชุม ป่าติ้ว ทรายมูล ไทยเจริญ

31,624

161,681

482,901

181,952

348,032

66,324,800

404,202,500

965,802,000

454,880,000

790,032,640

3

อ้อยโรงงาน

2552

2553

2554

2555

2556

78,080

40,672

90,493

38,784

249,491

28,876

20,501

26,822

25,856

47,844

เลิงนกทา กุดชุม ไทยเจริญ ป่าติ้ว ทรายมูล เมืองยโสธร

78,080

40,672

90,493

38,784

249,491

78,080,000

40,672,000

90,493,000

38,784,000

261,965,550

4

แตงโม

2552

2553

2554

2555

2556

773

4,308

803

2,829

1,683

688

2,271

900

1,458

712

เมืองยโสธร ป่าติ้ว กุดชุม เลิงนกทา มหาชนะชัย คำเขื่อนแก้ว

773

4,308

803

2,829

1,683

3,865,000

21,540

6,424,000

28,283,900

8,162,550

5

หอมแดง

2552

2553

2554

2555

2556

3,871

33,376

7,413

7,413

2,692

1,651

984

2,334

2,334

1,592

ค้อวัง

3,871

3,376

7,413

7,413

2,692

38,710,000

33,761,000

74,130,000

111,195,500

29,154,360

6

ปาล์มน้ำมัน

2552

2553

2554

2555

2556

825

824

1,377

1,375

563

687

687

1,147

1,147

1,823

ค้อวัง เลิงนกทา ป่าติ้ว กุดชุม ไทยเจริญ เมืองยโสธร มหาชนะชัย

825

825

1,376

1,377

563

4,946,400

4,946,400

4,129,200

4,129,200

1,925,460

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

2) สาขาการผลิตด้านปศุสัตว์    มีสัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงเพื่อจำหน่าย   ได้แก่
2.1)  โคพื้นเมือง โคพันธ์ โคลูกผสม จำนวน 76,654 ตัว จำนวนเกษตรกร 20,438 ราย
2.2)  กระบือ จำนวน 17,041 ตัว จำนวนเกษตรกร 5,369 ราย
2.3)  สุกร จำนวน 20,976 ตัว จำนวนเกษตรกร 1,542 ราย
2.4)  ไก่    - ไก่พื้นเมือง 777,178 ตัว จำนวนเกษตรกร 31,750 ราย
- ไก่เนื้อ 112,948 ตัว จำนวนเกษตรกร 395 ราย
2.5) เป็ด  - เป็ดเทศ 81,512 ตัว จำนวนเกษตรกร 7,080 ราย
- เป็ดเนื้อ / เป็ดไข่ 12,380 ตัว จำนวนเกษตรกร 1,059 ราย
2.6) แพะ    จำนวน 56 ตัว จำนวนเกษตรกร 21 ราย
การผลิตสัตว์ (ปศุสัตว์)

ประเภทสัตว์

โคพื้นเมือง โคพันธุ์ โคลูกผสม

กระบือ

สุกร

ไก่ (พื้นเมือง)

ไก่ (เนื้อ)

เป็ด (เป็ดเทศ)

เป็ด (เนื้อ/ไข่)

แพะ

พ.ศ.

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

จำนวน

จำนวนเกษตรกร

2552

166,525

42,678

25,840

8,530

27,354

2,565

976,321

60,852

546,782

331

50,126

5,986

116536

12889

314

69

2553

115,095

31,687

24,913

8,321

25,089

1,981

1,121,489

50,057

190,056

807

113,208

10,690

32912

2558

213

58

2554

120,495

32,023

25,715

8,509

27,512

2,154

1,109,276

50,183

192,180

810

118,191

10,982

35884

2745

258

83

2555

119,902

31,502

26,502

8,665

28,541

2,251

1,096,804

50,156

355,835

874

122,051

11,223

35884

2835

186

61

2556

76,654

20,438

17,041

5,369

20,976

1,542

777,178

31,750

112,948

395

81,512

7080

12,380

1,059

56

21

3) สาขาการประมง
3.1) จับปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่อปี จำนวน 2,934,022 ก.ก. ปลาที่จับได้มาก ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน ตามลำดับ
3.2) การเพาะเลี้ยงปลา จับปลาได้ต่อปี จำนวน 1,996,795 ก.ก. ปลาที่เลี้ยงมาก ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาดุก ปลาไน ปลานวลจันทร์เทศ ตามลำดับ  
ข้อมูลการประมง

ที่

พ.ศ.

จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน (กก.)

การเพาะเลี้ยง จำนวน (กก.)

1

2551

11,287,820

827,728

2

2552

13,264,550

876,512

3

2553

15,501,388

935,797

4

2554

17,890,503

1,098,735

5

2555

2,934,022

1,996,795

ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร 

4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม

จังหวัดยโสธรมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 246 โรงงาน เงินลงทุน 2,775,511,311 บาท และมีการจ้างงานรวม 3,790 คน โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ยางพารา ส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีน ข้าวหอมมะลิ ชุดชั้นในสตรียี่ห้อซาบีน่า เป็นต้น

ที่

พ.ศ.

โรงงานขนาดเล็ก (แห่ง)

โรงงานขนาดกลาง (แห่ง)

โรงงานขนาดใหญ่ (แห่ง)

จำนวนแรงงาน ในโรงงาน (คน)

1

2552

148

50

2

3,505

2

2553

152

54

2

3,573

3

2554

136

55

2

3,633

4

2555

179

59

2

3,752

5

2556

182

60

4

3,790

ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร 

โดยมีหมวดอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(1) อุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าว อบเมล็ดพืช ทำมันเส้น มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 39 โรงงาน เงินลงทุน 910.63 ล้านบาท การจ้างงาน 425 คน
(๒) อุตสาหกรรมอโลหะ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 38 โรงงาน เงินลงทุน 140.90 ล้านบาท การจ้างงาน 272 คน
(๓) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ ได้แก่ อัดเศษโลหะ กลึงและเชื่อมโลหะ มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 23 โรงงาน เงินลงทุน 50.19 ล้านบาท การจ้างงาน 106  คน

ตารางแสดงจำนวนโรงงาน เงินทุนและคนงานตามหมวดอุตสาหกรรมในจังหวัดยโสธร

ปี อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2552 35 835,651,211 386 17,965 11 168,829,000 163 4,369 8 8,030,000 99 237
2553 37 907,481,211 417 18,201 11 168,829,000 163 4,369 8 8,030,000 99 237
2554 37 907,481,211 417 18,201 12 193,829,000 168 4,696 8 8,030,000 99 237
2555 44 1,085,381,211 457 25,666 12 193,829,000 168 4,696 9 8,280,000 101 255
2556 47 1,162,529,211 466 23,187 11 193,059,000 167 4,949 9 8,280,000 101 255

ปี อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2552 1 335,000,000 1,400 553 16 128,496,000 164 1456 1 2,200,000 12 68
2553 1 335,000,000 1,400 553 19 132,556,000 178 1,735 1 2,200,000 12 68
2554 1 335,000,000 1,400 553 22 141,356,000 198 2,057 1 2,200,000 12 68
2555 1 335,000,000 1,400 553 24 142,556,000 203 2,096 1 2,200,000 12 68
2556 1 335,000,000 1,400 553 25 103,456,000 154 1,487 1 2,200,000 12 68

 

ปี อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2552 10 9,795,000 448 1,037 20 40,181,000 94 812 16 14,288,500 55 651
2553 10 9,795,000 448 1,037 20 40,181,000 94 812 16 14,288,500 55 651
2554 10 9,795,000 448 1,037 21 49,581,000 98 838 16 14,288,500 55 651
2555 10 9,795,000 448 1,037 24 58,781,000 112 1,115 17 14,738,500 60 695
2556 10 9,795,000 448 1,037 25 69,781,000 122 1,195 17 14,738,500 60 695

 

ปี อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมอื่นๆ
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2551 0 0 0 0 20 313,071,600 204 876 12 83,830,000 84 6,203
2552 0 0 0 0 20 313,071,600 204 876 13 98,830,000 92 6,245
2553 0 0 0 0 20 313,071,600 204 876 16 106,010,000 102 6,804
2554 0 0 0 0 21 316,571,600 214 942 17 120,010,000 114 6,874
2555 0 0 0 0 19 309,431,600 199 812 17 123,380,000 108 6,000

 

ปี อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2551 0 0 0 0 2 3,800,000 12 255 2 26,500,000 18 842
2552 0 0 0 0 2 3,800,000 12 255 2 26,500,000 18 842
2553 0 0 0 0 2 3,800,000 12 255 4 43,300,000 33 1,718
2554 0 0 0 0 2 3,800,000 12 255 4 43,300,000 33 1,718
2555 0 0 0 0 2 3,800,000 12 255 5 55,300,000 43 2,205

 

ปี อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอโลหะ
จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า จำนวนโรงงาน เงินทุน การจ้างงาน แรงม้า
2552 2 59,467,000 24 767 9 24,800,000 86 538 31 122,176,000 231 1,441
2553 2 59,467,000 24 767 9 24,800,000 86 538 31 122,176,000 231 1,441
2554 2 59,467,000 24 767 11 32,450,000 98 667 32 126,976,000 238 1,524
2555 3 66,467,000 34 814 12 33,600,000 100 706 33 130,976,000 246 1,600
2556 4 155,217,000 49 1,442 13 70,600,000 150 1,160 35 150,526,000 271 1,865

ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน ๖๒๘ ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกและจังหวัดยโสธร โดยเฉพาะ หมอนขวานผ้าขิดที่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จำนวน ๗๑ ราย มีการส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นและภายในประเทศ ซึ่งมีกำลังผลิตไม่มากนักและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เครื่องทองเหลือง แกะสลักไม้  ปลาส้ม  ไก่ย่างบ้านแคน  เป็นต้น

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP

ที่

พ.ศ.

จำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP (ผลิตภัณฑ์)

รายได้จากการจำหน่าย/ปี (บาท)

หมายเหตุ

ระดับดาว

จำนวนผลิตภัณฑ์

1

2552

-

-

623,000,000

-

2

2553

1

2

3

4

5

9

81

37

15

2

633,000,000

-

3

2554

-

-

711,000,000

-

4

2555

1

2

3

4

5

5

48

50

38

9

855,426,192

-

5

2556

-

-

861,215,526

-

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนยโสธร 

                4.2.3  การค้าและบริการ  และการท่องเที่ยว
                    1) ด้านการค้า
- การจดทะเบียนประกอบธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2556 (ณ 30 ก.ย. 56) มีผู้จดทะเบียนนิติบุคคล 840 ราย การค้าของจังหวัดยโสธรโดยเฉพาะการค้าข้าว มีหนาแน่นที่ชุมชนเทศบาลเมืองยโสธร เทศบาลตำบล กุดชุมพัฒนา เทศบาลตำบลเลิงนกทา เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว สินค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ หมอนขวานผ้าขิด ปลาส้ม โดยในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ 861,215,526 ล้านบาท

                    2) ด้านการบริการ
2.1) ด้านการเงิน มีธนาคารพาณิชย์ 11 แห่ง ปี 2556 (ณ 31 ส.ค. 56) เงินฝากกระแสรายวัน ฝากประจำ ฝากออมทรัพย์ 11,123 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 13,231 ล้านบาท
2.2) ด้านสาธารณูปโภค มีบริการไฟฟ้าและประปาที่ดี ไปรษณียภัณฑ์ขนส่งทางบก แต่ไม่มีสนามบินและรถไฟ
2.3) ด้านที่พักโรงแรม มีโรงแรม 61 แห่ง จำนวน 1,245 ห้องพัก
                    3) ด้านการท่องเที่ยว
3.1) แหล่งท่องเที่ยว   จังหวัดยโสธรมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอยู่ทางตอนเหนือ และตอนกลางของจังหวัด  เช่น  ภูถ้ำพระ  ภูทางเกวียน  ภูหินปูน  ลำน้ำทวนและสวนสาธารณะพญาแถนในเขตเทศบาลเมืองยโสธร   สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียง  เช่น หมอนขวานผ้าขิด  จักสานไม้ไผ่         การแกะสลัก   ทอผ้าไหม  ทอพรม  อยู่ทางตอนกลางของจังหวัด   และแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด  เช่น  พระธาตุยโสธรหรือพระธาตุพระอานนท์ธาตุก่องข้าวน้อย  หอพระไตรวัดสระไตรนุรักษ์  ดงเมืองเตย  พระธาตุกู่จาน  วัดพระพุทธบาท   แต่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เหล่านี้มีจุดอ่อน  คือ  แต่ละแหล่งอยู่ห่างไกลกัน  มีขนาดเล็กและไม่เด่นพอที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวมาแวะเที่ยวชม

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และคุณลักษณ์เด่นที่สามารถส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้ดี

ที่

แหล่งท่องเที่ยว

และที่ตั้ง

ประเภท

คุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว

๑.

ธาตุตาดทอง หรือธาตุก่องข้าวน้อย

บ้านตาดทอง  หมู่ที่ ๑, ๙ , ๑๑  ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร 

วัฒนธรรม

เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสร้างจากอิฐ แบบอย่างของเจดีย์ลาว รุ่นเก่าผสมผสานกับเจดีย์รุ่นใหม่แบบพระธาตุหลวงเวียงจันทน์  สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ และมีพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในอุบลุงด้านหน้าองค์ธาตุ และมีตำนานว่า ได้เกิดเหตุลูกฆ่าแม่เนื่องจากโมโหหิวที่มารดามาส่งข้าวช้าและใช้ก่องข้าวน้อย   เมื่อกินข้าวอิ่มแต่กลับกินไม่หมด  สำนึกผิดเสียใจ  จึงไถ่บาปโดยการร่วมสร้างเจดีย์ดังกล่าว

๒.

วัดมหาธาตุ

ตำบลในเมือง

อำเภอเมืองยโสธร

วัฒนธรรม

เป็นวัดพระอารามหลวงมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนมาสักการะกราบไว้ และเที่ยวชม ได้แก่ พระธาตุอานนท์ เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ  ปี พุทธศักราช ๑๒๓๘ ใช้บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์  พระสาวกซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย  ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เจดีย์มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยม  ส่วนยอดคล้าย พระธาตุพนม  ได้รับอิทธิพลศิลปะจากหลวงพระบาง พระพุทธบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้างเป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของชาวยโสธรทำจากแก้วผลึกสีขาวใสส่วนฐานบัลลังก์หุ้มด้วยทองคำเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้ว สูง ๓.๕ นิ้ว ได้รับพระราชทานจาก รัชกาล   ที่ ๓  แห่งราชวงศ์จักรี  ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดมหาธาตุ  หอไตร  อยู่ในบริเวณวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๓ โดยพระครูหลักคำ (กุคำ)เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปที่ ๓  ตัวอาคารหอไตรสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลาน พร้อมพระไตรปิฏก  และตำราต่างๆซึ่งพระครูหลักคำเป็นผู้นำมาจากเมืองเวียงจันทน์    

3.

เมืองเก่าชุมชนบ้าน

สิงห์ท่า 

ตำบลในเมือง

อำเภอเมืองยโสธร

วัฒนธรรม

สร้างขึ้นเมื่อยุคสมัยชาวจีนเข้ามาค้าขาย ในยโสธรรุ่นแรกๆ  ตึกแถวโบราณ งดงามด้วยสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นตึกอิฐ  ดินเหนียวมีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปหรือชิโน   โปรตุกีส  เป็นเขตธุรกิจเมืองเก่าซึ่งบางตึกยังปรากฏร่องรอยที่เขียนว่า “สมักขสถาน” ที่มาจากคำว่า “Smoke สถาน” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรงฝิ่น”   

4.

วัดสิงห์ท่า

ตำบลในเมือง

อำเภอเมืองยโสธร 

วัฒนธรรม

ประวัติของการก่อตั้งเมืองยโสธร เริ่มที่วัดสิงห์ท่า  ในสมัยท้าวคำใส  ท้าวคำสุย  ท้าวคำสิงห์  ท้าวก่ำ  ท้าวมุม  มาสร้างบ้านสิงห์ท่าในครั้งแรก  เมื่อนครเขื่องขันธ์ กาบแก้ว  บัวบาน หรือหนองบัวลุ่มภูแตกแล้ว  เจ้าพระวอพร้อมด้วยญาติวงศาจึงได้อพยพมาอยู่บ้านสิงห์ท่าแบ่งราษฎรไว้ให้อยู่ในความดูแลของท้าวคำใส  มีการสถาปนาวัดใหญ่ขึ้นคือ วัดสิงห์ท่า เหตุว่าได้พบสิงห์หินและพระพุทธรูปใหญ่อยู่ในดงวัดสิงห์ท่าปัจจุบัน

5.

แหล่งรวมโบราณวัตถุ
วัดศรีธาตุ
บ้านสิงห์ 

วัฒนธรรม

วัดศรีธาตุบ้านสิงห์ถือว่าเป็นแหล่งรวมโบราณวัตถุที่มีค่าและสืบตำนานเมืองยโสธร  ซึ่งยังปรากฏอยู่หลายอย่างเช่น พระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย,  สิงห์หินแกะสลักที่เชื่อว่าเป็นสิงห์คู่กับวัดสิงห์ท่า, ภาพจิตรกรรมโบราณบนผืนผ้าไหมเรื่องเวสสันดรชาดก  ซึ่งน่าจะมีอายุในระยะกรุงธนบุรี ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

6.

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านนาสะไมย์ บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมืองยโสธร

วัฒนธรรม

ถือว่าเป็นหมู่บ้านช่างฝีมือ ในจังหวัดยโสธร เนื่องจากมีสินค้าหัตถกรรมที่เลื่องชื่อหลายอย่าง อาทิเครื่องจักสาน งานแกะสลักบานประตูไม้ เกวียนไม้โบราณจำลอง และเครื่องทองเหลือง ชาวบ้านมีความชำนาญในการทำเครื่องจักสานทุกครัวเรือนเป็นหมู่บ้านที่มีเศรษฐกิจดีนำรายได้ให้กับจังหวัดเป็นจำนวนมาก หมู่บ้านนาสะไมย์นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าเยี่ยมชม และหาซื้อสินค้าหัตถกรรม ของจังหวัดยโสธร

7.

วังมัจฉา, วัดบ้านกว้าง  ตำบลเขื่องใน  อำเภอเมืองยโสธร

วัฒนธรรม

วังมัจฉาเป็นสถานที่ให้อาหารปลาในเขตอภัยทานของวัดบ้านกว้าง ซึ่งจะมีปลาประเภทต่างๆที่เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในลำ        น้ำทวน  อีกทั้งภายในอุโบสถของวัดบ้านกว้างยังเป็นที่ประดิษฐานของพระประธานที่ชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าใหญ่ซึ่งเป็นรูปปั้นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยดินผสมยางไม้  ลงรักปิดทองมีขนาดหน้าตักกว้างสามศอกเศษ สูงหกศอกเศษ  และจะมีงานสรงน้ำพระเจ้าใหญ่ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี

8.

งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร

ตำบลในเมือง

อำเภอเมืองยโสธร 

วัฒนธรรม

งานประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ในสัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี  เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสานที่เชื่อว่าการทำบุญบั้งไฟเพื่อเป็นการบูชาเทพยดาฟ้าดินให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวยโสธรที่เป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  และที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่อยากมาเที่ยวชมติดอันดับ 1ใน 5  ของโลก   ปัจจุบัน การจัดงานได้เชิญเมืองคู่แฝด ได้แก่เมืองซิซิบุ ประเทศญี่ปุ่น ส.ป.ป.ลาว  และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าร่วมงานด้วย  กิจกรรมประกอบด้วย ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม  บังไฟโบราณ  ประกวดกาพย์เซิ้ง  ประกวดธิดาบังไฟ ประกวดกองเชียร์   บังไฟขึ้นสูง   บังไฟแฟนซี  การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน   และกิจกรรมรื่นเริงอื่น ๆ  เป็นที่สนุกสนานของผู้ที่ได้มาเที่ยวชม

9.

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 

บ้านทุ่งแต้  ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร

วัฒนธรรม

เป็นที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้โบราณในท้องถิ่นของชาวบ้าน ทั้ง เครื่องใช้ เครื่องครัว เครื่องมือดักจับสัตว์ เครื่องดนตรี พระพุทธรูป ใบลาน ฯลฯ ที่ถูกเก็บรวบรวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ในบริเวณวัดบูรพา บ้านทุ่งแต้

งานประเพณี จุดไฟตูมกา บ้านทุ่งแต้  ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมืองยโสธร  ในคืนวันออกพรรษา ของทุกปี ณ วัดบูรพา บ้านทุ่งแต้ ชาวบ้าน จะพากันจุด "ไฟตูมกา" โคมไฟที่ประดิษฐ์จากผลไม้ป่า   ที่เรียกว่าผลตูมกา รูปทรงกลมคล้ายผลส้มขนาดเท่ากำปั้น  คว้านเอาเนื้อและเมล็ดข้างในออกให้หมด แล้วจุดเทียนด้านใน  ใช้มีดแกะเป็นลายต่างๆแล้วหิ้วก้านโคมไฟตูมกาไปแขวนรวมกันไว้ตามซุ้มไม้ไผ่ที่ทางวัดจัดไว้ พร้อมกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และสวดมนต์ไหว้พระพร้อมกัน เพื่อความเป็นสิริมงคล

10.

สวนสาธารณะพญาแถน   อยู่ในเขตตัวเมืองยโสธร  ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๓

ถนนแจ้งสนิท

ธรรมชาติ

เป็นสวนสาธารณะบนเนื้อที่ ๑๘  ไร่ ที่เป็นปอดประจำจังหวัดของชาวยโสธร  เป็นสวนที่จัดแต่งต้นไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม หรับการพักผ่อน  ออกกำลังกาย  มีสังคีตศาลาอเนกประสงค์  สนามเด็กเล่น  สนามกีฬากลางจังหวัด  และยังใช้เป็นที่สถานที่จุดบั้งไฟในงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอีกด้วย 

11.

หมอนขวานผ้าขิด 

บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว 

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP)

เป็นแหล่งผลิตหมอนขวานผ้าขิด  หมอนรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายขวาน  ใช้หนุนนอนและถวายพระเป็นการทำบุญ  แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมา ปัจจุบันหมอนขวานผ้าขิดได้พัฒนารูปแบบการตัดเย็บสีสันของผ้าให้ถูกกับรสนิยมของชาวต่างประเทศในแต่ละทวีป  เป็นสินค้า OTOPประดับ ๕ ดาวที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ  โดยเฉพาะการนำไปตกแต่งประดับประดา และใช้งานในสปา  รีสอร์ท และตามโรงแรม

ปัจจุบันชาวบ้านแทบทุกครัวเรือน มีอาชีพทอผ้าและทำหมอนขิด นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมและซื้อหมอนขิด ไว้เป็นที่ระลึก  นับเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่นำรายได้เป็นอันดับสองรองจากการทำนา

12.

ค่ายบดินเดชาฯ

บ้านเดิด  ตำบลเดิด

อำเภอเมืองยโสธร

ธรรมชาติ

เดินทางจากตัวเมืองยโสธร  ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๓ ถนนแจ้งสนิท ไปทางจังหวัดร้อยเอ็ดประมา ณ ๒๐ ก.ม.จากตัวเมือง ในบริเวณค่ายบดินเดชาฯ นอกจากจะเป็นสถานที่ราชการแล้ว  ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเล่นกีฬา  ซึ่งมีทั้งสนามกอล์ฟขนาด ๙ หลุม  สระว่ายน้ำ  สนามยิงปืน  และยังมีการจัดด่านกิจกรรมทดสอบสำหรับสถานศึกษาในการที่มาทำกิจกรรมเข้าค่าย

13.

สวนสาธารณะบุ่งน้อย บุ่งใหญ่  

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร

ธรรมชาติ

อยู่ในเขตตัวเมืองยโสธร  เป็นสวนสาธารณะที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อน ออกกำลังกาย ในบริเวณสวนดังกล่าว มีอนุสาวรีย์พระสุนทรราชวงศา ซึ่งเป็นเจ้าเมืององค์แรกของจังหวัดยโสธร  ที่ประชาชนให้ความเคารพ  รอบ ๆ บริเวณปรับภูมิทัศน์ที่สวยงามมีไม้ดอกไม้ประดับ ศาลาแปดเหลี่ยม  และลานคอนกรีตขนาดใหญ่  

14.

ลำทวน

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร 

ธรรมชาติ

เป็นแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ในระหว่างเขตเทศบาลเมืองยโสธร อบต. น้ำคำใหญ่ และเทศบาลตำบลตาดทองลักษณะภูมิประเทศของลำทวนมีความงดงามที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสวนสาธารณะ

พญาแถน  ที่ใช้ในการจุดบั้งไฟในงานบั้งไฟนานาชาติของจังหวัด จึงเหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และตำนานบุญบั้งไฟของจังหวัด บริเวณดังกล่าวได้มีการขุดลอกและปรับปรุงภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีไม้ดอก ไม้ประดับ ศาลาอเนกประสงค์ ลานออกกำลังกาย ทางเดิน ทางจักรยาน ในลำทวนมีดอกบัวแดงที่บานสะพรั่งไปทั่วบริเวณ ในอนาคตจะสร้างอาคารพญา      คันคาก พญานาค ภายในอาคารจะแสดงเรื่องราวตำนานบุญบั้งไฟ

15.

สวนกล้วยไม้และยโสธรมินิกอล์ฟ บ้านสมสะอาด ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร 

ธรรมชาติ

ออกจากตัวเมืองยโสธร  ตามถนนวิทยธำรงค์  จนถึงสี่แยกบ้านน้ำคำน้อยตรงไปอีก ๓ ก.ม.  ก่อนถึงบ้านสมสะอาดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือสวนกล้วยไม้ยโสธรมีพื้นที่โดยรวมประมาณ ๕ ไร่ มีกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ เช่น แวนด้า  แคทรียา และสายพันธุ์อื่นอีกมากมายที่เปิดให้เข้าชมและเรียนรู้วิธีขยายพันธุ์  อีกทั้งยังมีสนามมินิกอล์ฟสำหรับเด็กๆและครอบครัวมาเล่นพักผ่อนยามว่าง  มีสนามพัดกอล์ฟถึง ๑๘ หลุมที่มีความยากง่ายต่างกันตามรูปแบบสนามที่ออกแบบอย่างสวยงาม  ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งเป็นกลุ่มและเป็นเกมส์ที่สนุกสนาน

16.

กุดกะเหลิบ

ตำบลหนองหิน

อำเภอเมืองยโสธร

ธรรมชาติ

เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองหินและตำบลหนองเป็ด มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  มีน้ำตลอดปีพร้อมทัศนียภาพที่สวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

17.

หนองอึ่ง

บ้านแจ้งน้อย

ตำบลค้อเหนือ 

อำเภอเมืองยโสธร

ธรรมชาติ

บริเวณหนองอึ่ง  มีนกเป็ดน้ำอาศัยเป็นจำนวนมาก  สันนิษฐานว่าอพยพมาจากเมืองจีน

18.

ภูสูง บ้านหนองแคน

หมู่ที่ ๓  ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

ห่างจากอำเภอเลิงนกทาประมาณ ๔๒ กม. เป็นภูเขาสูงที่มีจุดชมวิวสวยงามเรียกว่าผาสบนก (ปากนก) ที่สามารถมองภูมิทัศน์ได้ทั่วทั้งอำเภอ มีบ่อน้ำมหัศจรรย์บนภูเขาประมาณ ๓๐๐ บ่อซึ่งบางบ่อมีความลึกถึง ๕ เมตร มีหลุมหลบภัยในสมัยคอมมิวนิสต์  มีวัดภูสูงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสีขาวนวลองค์ใหญ่พร้อมทั้งงานปฏิมากรรมอื่นๆ  ที่สวยงามและปราณีต  และยังเป็น พุทธอุทยานเหมาะสำหรับจัดอบรมปฏิบัติธรรม

19.

อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนบ้านห้องแซง  ตำบล

ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

เลี้ยวซ้ายเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน  ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ  ๒๐ กม. เป็นอ่างเก็บน้ำในโครงการชลประทานมีเนื้อที่ประมาณ ๑๔,๐๐๐ ไร่ มีระบบส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและเป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา  มีร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มไว้คอยบริการประชาชน  นิยมใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นสถานที่ที่มีหาดทรายยาว และสวยงาม

20.

อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบกบ้านหนองแคน หมู่ที่ ๓ ตำบลบุ่งค้า

อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

เป็นชลประทานขนาดกลาง  ขนาดความจุ  ประมาณ  ๒๖.๘๐ ล้านลูกบาศก์เมตร มีทิวทัศน์สวยงามมองเห็นภูเขาล้อมรอบฤดูกาลท่องเที่ยวนั้นจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์  ซึ่งทางเทศบาลตำบลบุ่งค้า  ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬา การตกปลาภายในอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ยังมี   ภูจันทร์  เป็นภูเขาขนาดเล็ก มีลานหินสวยงามเรียกหินเต่า,ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ,มีเสาเฉลียงลักษณะคล้ายดอกเห็ดและจุดชมวิวบนก้อนหินใหญ่มองเห็นภูมิทัศน์อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก มีถ้ำสุนัขจิ้งจอกอาศัยอยู่ เหมาะสำหรับออกกำลังกาย เช่น เดินทางไกล  ปั่นจักรยานเสือภูเขา ชมวิว  ตั้งแค้มป์พักผ่อน นอกจากนี้ในตำบลเดียวกันยังมี ภูกะซะ บ้านช่องเม็ก หมู่ที่  เป็นภูเขาที่มีหินรูปทรงต่างมากมายมีบ่อน้ำซึมอยู่บนยอดเขา (น้ำบุ้น) สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบ  และยังมีร่องรอยภาพเขียนโบราณบนหน้าผาหิน

21.

ห้วยหินลาดบ้านโนนหาด หมู่ที่ ๕ ตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

เป็นแก่งหินที่ได้รับน้ำจากห้วยเซบายที่ผ่านฝายน้ำล้นซึ่งทำให้มีน้ำที่ไหลผ่านลานหินไล่ระดับ เหมาะแก่การล่องแก่ง

22.

วัดภูถ้ำพระ 

อำเภอเลิงนกทา 

ธรรมชาติ

เป็นถ้ำพระ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ นอกนั้นเป็น พระพุทธรูปเก่าตามขอบกำแพงเป็นจำนวนมาก ต่อจากถ้ำพระเป็นทางเชื่อมเดินลักษณะโขดหินน้อยใหญ่สลับกัน และมีหอระฆังเพื่อชมทัศนียภาพด้านล่าง ต่อจากนั้นจะเป็นกำแพงหินขนาดใหญ่สองข้างและมีทางเดินตรงกลาง เรียกว่า

ถ้ำลอด

23.

ภูหมากพริก

บ้านทองสัมฤทธิ์ หมู่ ๑๕

ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม 

ธรรมชาติ

เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด และสัตว์ป่าตัวเล็กๆ จำพวกกระรอก กระแต งู ไก่ป่าและนกนานาพันธุ์ และมีปูภูเขาที่มีขนอาศัยอยู่เรียกว่าปูแป้ง และภูหมากพริกยังเป็นสนามหนึ่งในการจัดแข่งขันเสือภูเขาชิงแชมป์แห่งประเทศไทย 

24.

ภูทางเกวียนบ้านหนองแหน หมู่ที่ ๕ หนองแหน อำเภอกุดชุม 

ธรรมชาติ

มีลักษณะเป็นภูเขาขนาดเล็กที่สูงชัน มีจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดิน  ด้านบนเป็นวัดภูทางเกวียน  มีบ่อน้ำหินที่มีน้ำขังตลอดปี  เป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่านานาชนิดและเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป   อยู่ด้านบนของบันไดทางขึ้นทั้งหมด ๒๐๐ ขั้น

25.

ภูถ้ำพระ

อำเภอกุดชุม

ธรรมชาติ

เป็นจุดเชื่อมของภูหินปูนกับน้ำตกนางนอน  อ่างเก็บน้ำหลุบหนองนอและถ้ำจันได  สภาพทั่วไปเป็นจุดต่ำสุดของภูหินปูนอยู่ด้านทิศใต้สุด

26.

น้ำตกหินขัว

อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

เป็นคล้ายสะพานหิน (ชาวบ้านเรียกขัว) มีน้ำตกไหลลอดผ่านสะพานหิน

27.

น้ำตกนางนอน

อำเภอกุดชุม

ธรรมชาติ

น้ำตกนางนอนถูกค้นพบกลางป่าต้นน้ำภูหินปูน เส้นทางการเดิน เป็นป่าและลานหินกว้างสลับกัน ระยะแรกจะเป็นป่าที่สมบูรณ์ต่อจากนั้นเป็นลานหินกว้าง มีธารน้ำไหลผ่านตลอดระยะทางมีพันธุ์ไม้ พันธุ์หญ้าที่แปลกตาและชวนให้ค้นหาอยู่เป็นระยะ น้ำตกมีความสูง 5 เมตร เป็นน้ำตก 3  ชั้น มีธารน้ำใสไหลเย็น เหมาะสำหรับการมาพักผ่อน  เล่นน้ำ

28.

ภูถ้ำสิม

อำเภอกุดชุม 

ธรรมชาติ

มีลักษณะเป็นถ้ำ และมีสำนักสงฆ์ อยู่ภายในบริเวณ มีโขดหินขนาดใหญ่ สลับกันมีทางเดินลงเพื่อเชื่อมต่อไปยังร่องลำธารน้ำขนาดใหญ่ค่อนข้างยาวทอดตัวไปตามแนวป่าของภูถ้ำสิม และเมื่อเดินทวนร่องน้ำขึ้นไปด้านเหนือสุดของต้นน้ำจะพบดอกกระเจียว ป่าหญ้า และดอกไม้ป่านานาชนิด

29.

ภูหินปูน

ป่าต้นน้ำภูหินปูน

อำเภอกุดชุม 

ธรรมชาติ

มีโขดหินรูปร่างแปลก ๆ เหนือบริเวณหินกว้างด้านหน้าของวัด โขดหินที่พบมีรูปร่างที่สามารถจินตนาการเป็นรูปสัตว์ ต่าง ๆ เดินขึ้นอีก 700 เมตร เป็นที่ตั้งของลานพุทธธรรม ตลอดจนโขดหินขนาดใหญ่ที่ยื่นออกไปกลางหน้าผาที่มีความสูงชันเท่ากับยอดไม้  เหมาะสำหรับชมทัศนียภาพเบื้องล่าง

30.

ป่าติ้วล่องแพลำเซบาย

อำเภอป่าติ้ว 

ธรรมชาติ

จุดเริ่มของการล่องแพอยู่ที่ “สวนไม้งาม” ซึ่งเป็นที่พักประเภทรีสอร์ทชมธรรมชาติและร้านอาหาร แพที่ใช้สำหรับล่องเซบายเป็นแพขนาดนั่งไม่เกิน 50 คนมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่วัดภูขี้ครั่ง ซึ่งเป็นวัดที่มีความเก่าแก่และมีพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ทำจากครั่งไม้

31.

สวนหินงามบ้านป่าชาด ตำบลห้องแซง

อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

มีโขดหินน้อยใหญ่ รูปร่างต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วบริเวณกว้าง  มีดอกกระเจียวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งสีขาวและสีชมพูสลับกัน  ซึ่งจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝนสลับกับโขดหินงาม ในบริเวณใกล้เคียงจะมีสำนักสงฆ์เล็กๆและมีหนองน้ำซึ่งสามารถกางเต้นท์พักแรมบริเวณดังกล่าวได้

32.

ภูมะยาง บ้านโคกใหญ่  ตำบลศรีแก้ว

อำเภอเลิงนกทา

ธรรมชาติ

เป็นภูเขาที่มีโขดหินน้อยใหญ่ ที่ถูกกัดเซาะ สลัก ตกแต่งจากธรรมชาติจนเกิดเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ มีภูผักหวาน เป็นเขาที่มีดานหินกว้างอยู่บนเขาในฤดูฝน น้ำจะไหล ลงสู่อ่างเก็บน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าอ่างกบ โดยมีน้ำตกที่สวยงาม และ ถ้ำศรีสงคราม  ในปากถ้ำประมาณ 1 เมตรเป็นถ้ำห้องโถงกว้างประมาณ ๒๐ เมตร โดยมีร่องน้ำไหลผ่านทั้งปี ในถ้ำมี

บ่อน้ำน้ำจาง (จืด)

33.

วัดป่าวังน้ำทิพย์ บ้านม่วงกาชัง  ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา

วัฒนธรรม

เป็นวัดที่เป็นที่จัดอบรมสัมมนา มีสิ่งก่อสร้างที่ให้ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาของจังหวัดยโสธร

34.

วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยางหมู่ที่ ๓ ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย

วัฒนธรรม

เดิมเป็นวัดเก่าที่มี โบราณวัตถุซึ่งนำมา   จากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี ๑๓๗๘ คือ 1.รอยพระพุทธบาท  2.พระพุทธ รูปปางนาคปรก 3.เสาหิน (ศิลาจารึก) ซึ่งเป็นศิลาจารึกที่จารึกอักขระตัวขอมและบาลี ซึ่งในปัจจุบันได้มีการสร้างอุโบสถและเจดีย์ขึ้นเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อหยก ขาวและหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศไทย

35.

ประเพณีแห่มาลัยเทศบาลตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย 

วัฒนธรรม

ประเพณีที่จัดขึ้นเฉพาะที่บ้านฟ้าหยาด  อ.มหาชนะชัย  จัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 หรือก่อนวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี  เพื่อเป็นการสักการบูชาพระพุทธเจ้าแทนดอกมณฑารพ  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์  ที่หล่นลงมายังโลกมนุษย์  โดยชาวบ้านจะนำข้าวตอกมาร้อยเป็นมาลัยแล้วแห่ไปถวายพระ  ซึ่งในปัจจุบันมีการประกวดมาลัยประเภทต่างๆของแต่ละชุมชน  และยังเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย

36.

แหล่งโบราณคดี

บ้านบึงแกบ้านโนนแก   ตำบลโนนแก

อำเภอมหาชนะชัย 

วัฒนธรรม

เป็นชุมชนโบราณเขตลุ่มแม่น้ำชี  ภายในหมู่บ้านพบโบราณวัตถุ คือ 1.ใบเสมาหิน 2.พระพุทธรูปหินทราย 3.แท่นหินบด 4.เศษภาชนะดินเผา 5.หลักศิลาจารึก(โนนสัง)  แต่ในปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ยังคงเหลือแต่ใบเสมาหินและหลักศิลาจารึก  ส่วนโบราณวัตถุอื่นถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานที่จังหวัดอุบลราชธานี

37.

วัดพระธาตุบุญตา

บ้านพระเสาร์หมู่ที่ ๑ ตำบลพระเสาร์ อำเภอ      มหาชนะชัย

วัฒนธรรม

เดิมเป็นวัดร้างอายุ ๑๐๐๐ ปี  มีอิฐ และศิลาแลงเก่ากลางหนองน้ำซึ่งเป็นเสาไม้ตะเคียนฝังอยู่ใต้พื้นหนองน้ำ  ปัจจุบันบูรณะใหม่เป็นองค์พระธาตุบุญตาซึ่งบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ทั่วสารทิศและมีทองคำหนักประมาณ ๓๐ บาท รวมบรรจุไว้บนยอดพระธาตุเจดีย์ ณ บริเวณเดียวกันจะมีศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่าบ้านปากปึ่ง    มีสัตว์ งู ลิงอาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก อบต.พระเสาร์จึงสร้างลานปูน  ศาลาที่พักนักท่องเที่ยว  ตั้งให้เป็นศูนย์อนุรักษ์สัตว์

38.

พระธาตุกู่จาน

บ้านกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว

วัฒนธรรม

สร้างขึ้นพุทธศตวรรษที่ 12 หรือสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่วัดกู่จาน  มีรูปทรงพระธาตุเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพระธาตุพนม  เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จะจัดงานนมัสการพระธาตุที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันมาฆบูชา (วันเพ็ญเดือนสาม) บริเวณใกล้เคียงกันจะมีกู่บ้านงิ้ว เป็น ๑ โบราณสถาน ซึ่งเป็นเทวสถานของขอมในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แผนผังอาคารประกอบด้วย

๑)ปราสาทพระประธาน ๒)บรรณาลัยหรือห้องสมุด และ ๓) สระน้ำ หรือ    บาราย ตัวปราสาทมีแท่นฐานสี่เหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนสลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสต่อกัน ๓ ช่อง เรียกว่าตรีมูรติ สร้างเพื่อตั้งเทวรูปเพื่อเคารพบูชา หรือที่เรียกว่ารัตนตรัยมหายาน และมีปูนปั้น ๑๒ นักกษัตริย์เฝ้าเทวาลัย

39.

ดงเมืองเตย

บ้านสงเปือย   

ตำบลสงเปือย

อำเภอคำเขื่อนแก้ว

วัฒนธรรม

ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย มีลักษณะเป็นโบราณสถานกำแพงเมือง มีสระน้ำคนดินล้อมรอบ เป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมในสมัยเจนละพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหลายยุค รวมทั้งเศษตะกรันโลหะ ในอารยธรรมยุคสัมฤทธิ์ นอกจากนั้นยังพบหลักฐานเป็นหินสลักรูปจำลองลักษณะเป็นกุฑุวงโค้งรูปเกือกม้ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒

40.

พระธาตุโพนทัน 

บ้านโพนทัน หมู่ที่ ๑,๖,๘ ตำบลโพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว 

วัฒนธรรม

พระธาตุโพนทันอยู่ในวัดบ้านโพน  ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน มีขนาดกว้าง ยาว ด้านละ ๘ เมตร สูงประมาณ ๒๓ เมตร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ ส่วนบนของพระธาตุได้พังลงมา ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระธาตุ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจมาโดยตลอด และได้จัดงานนมัสการพระธาตุเป็นประจำทุกปีในช่วงวันเพ็ญเดือนสาม หรือวันมาฆบูชา

41.

พระธาตุฝุ่น บ้านทรายมูลหมู่ที่ ๓ ตำบลทรายมูล  อำเภอทรายมูล

วัฒนธรรม

ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุฝุ่นเป็นพระธาตุเก่าแก่ สร้างปี พ.ศ. ใดไม่มีหลักฐานองค์    พระธาตุเก่าได้ปรักหักพังลงจนเหลือเพียงกองอิฐสูงประมาณ ๔ ม.ฐานกว้าง ๔X๔ ม.ชื่อ " พระธาตุฝุ่น"เรียกตามโบราณวัตถุสำคัญที่ค้นพบในองค์พระธาตุซึ่งมีลักษณะเป็นผงฝุ่นปัจจุบันได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นแทนองค์เดิม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุองค์เดิมฐานกว้าง ๔x๔ สูง ๑๖ ม.

42.

วัดล้านขวด บ้านดู่ลาด ตำบลดู่ลาด

อำเภอทรายมูล

วัฒนธรรม

ตามประวัติเดิมสถานที่แห่งนี้เป็นเขตป่าสงวนหลวงปู่รอดซึ่งเป็นพระกรรมฐานได้ธุดงค์มาสมถมัฏฐานตรงพื้นที่นี้ชาวบ้านจึงมารวมตัวกันตั้งเป็นวัดเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ ผู้ก่อสร้างคือพระครูวิเวกธรรมจาร(หลวงปู่รอด)นำขวดมาก่อสร้างศาลาการเปรียญกุฏิ , อุโบสถ  ,เมรุ

43.

หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง

ตำบลนาเวียง 

อำเภอทรายมูล 

วัฒนธรรม

สร้างขึ้นตรงช่วงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   (พ.ศ.๑๙๑๙ -๒๐๓๑) เป็นหอไตรกลางน้ำ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ก่อสร้างโดยช่างลาวที่อพยพเข้ามาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารก่อสร้างด้วยไม้ บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น พระเสี่ยงทายปางมารวิชัย, พระสลักจากนอแรดและจากงาช้าง

44.

โบสถ์ไม้ที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบ้านซ่งแย้บ้านซ่งแย่ ตำบลคำเตย 

อำเภอไทยเจริญ

วัฒนธรรม

เป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ของชุมชน และประกอบพิธีแต่งงานในวันวาเลนไทน์ของทุกปีของคู่บ่าวสาวที่นับถือศาสนาคริสต์ นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 ที่สำคัญของอำเภอไทยเจริญ (วัดอัครเทวดามิคาแอล)  ในช่วงวันวาเลนไทน์ (๑๔ กุมภาพันธ์  ของทุกปี) ที่โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จะจัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาว ที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยการจัดพิธีดังกล่าวจัดขึ้นอย่างสมเกียรติของคู่บ่าวสาวและแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน มีขบวนแห่ขันหมาก พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพิธีสมรสแบบคาทอลิก พิธีอวยพร  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมเพื่อแสดงความยินดีกับคู่สมรส

45.

หรือวัดป่าเทวัญภูกอย  

บ้านคำเตย

ตำบลไทยเจริญ

อำเภอไทยเจริญ  

วัฒนธรรม

ภายในวัดมีลอยพระพุทธบาทจำลอง  ซึ่งสมัยก่อนได้มีคนมาพบเห็นจึงทำที่มุงหลังคาไว้ จากนั้นก็ได้ก่อตั้งวัดป่าภูกอยหรือวัดไทยเจริญ  ขึ้นในภายหลังเพื่อเป็นวัดประจำอำเภอไทยเจริญ   นอกจากนั้น  มีลานหินที่สวยงาม ชาวบ้านเรียกว่าลานลั่นทม  สงบเงียบ  เหมาะนั่งชมปลาในสระน้ำขนาดใหญ่ด้วย 

46.

โบราณสถานดอนธาตุ บ้านผิผ่วน หมู่ที่  ๕ ตำบลค้อวัง  อำเภอค้อวัง

วัฒนธรรม

เป็นวัดเก่าสมัยทราวดี ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านสมัยโบราณ  ในตำบลเดียวกันจะมีใบเสมาหินทรายวัดบ้านเปาะ  หมู่ที่ ๖ ตำบล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ – ๒๒๑๕ เจ้าสีวิลาศ และเจ้าหาแม่ออกผุสดี อุบาสิกาศรีพร้อมด้วยบุตรและหลานได้สร้างพระเจดีย์และพระพุทธรูปบรรจุเจดีย์ไว้ ฝ่ายสงฆ์ มีหลวงปู่ศรีปุสโต เป็นประธาน สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๕ ปีไก่ (ระกา) ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลักฐานได้จากหนังสือใบลานและจารึกไว้ที่ฐานพระพุทธรูปคราวขุดพบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ รวมเวลา ๓๒๓ ปี และ ได้พบไหโบราณ, ใบเสมาหินทราย

 

3.2) งานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์การท่องเที่ยว  คือ งานประเพณีบั้งไฟ  งานแห่มาลัย
3.3) ผู้มาเยี่ยมเยือนและท่องเที่ยว ปี  2553
- จำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน  ประมาณ  454,507  คน โดยเป็น  ชาวไทย 445,800  คน   ชาวต่างประเทศ  8,707  คน   แยกเป็น
(1)  จำนวนนักท่องเที่ยว  (พักค้างคืน)  ชาวไทย 237,093   คน                ชาวต่างประเทศ  6,748  คน
(2)  จำนวนนักทัศนาจร  (ไม่พักค้างคืน)  ชาวไทย  208,707   คน                    ชาวต่างประเทศ  1,959  คน
จำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างประเทศมีน้อยมาก   โดยนักท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย  417  บาท/คน/วัน  ส่วนนักทัศนาจร มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย  215  บาท / คน /วัน

ที่

พ.ศ.

จำนวนนักท่องเที่ยว

รายได้จากการท่องเที่ยว (ล้านบาท)

ชาวไทย (คน)

ช่างต่างประเทศ (คน)

1

2552

252,718

2,502

169.25

2

2553

445,800

8,707

353.71

3

2554

424,318

9,334

492.95

ที่มา : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร เขตท้องที่จังหวัดยโสธร 

สรุปสถานการณ์ในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน  จุดแข็ง  มีการผลิตข้าวหอมมะลิจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ชุมชนหลากหลาย เครือข่ายถนนเพียงพอ   มีแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ  ส่วนจุดอ่อน  ขาดน้ำเพื่อการเกษตรและมีพื้นที่ชลประทานน้อย  ผลผลิตต่ำ  ราคาของผลผลิตด้านการเกษตรไม่แน่นอน  การปศุสัตว์  และประมงยังมีน้อย   ถนนชำรุดหลายสาย  พื้นที่บางแห่งประสบปัญหาอุทกภัย/ ภัยแล้งซ้ำซาก  แหล่งท่องเที่ยวมีขนาดเล็กแต่ละแหล่งตั้งอยู่ไกลกันและไม่โดดเด่น  
5. สถานการณ์ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
5.1 การศึกษา
จังหวัดยโสธร   จัดการศึกษาทั้ง  2  รูปแบบ  คือ  การศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียน  จำแนกดังนี้
5.1.1  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ที่

พ.ศ.

ระดับอนุบาล

ระดับประถมศึกษา

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

1

2552

395

833

12,582

875

386

2,678

38,236

2,526

2

2553

392

822

12,188

867

385

2,780

36,509

2,518

3

2554

394

898

11,813

873

385

2,697

35,242

2,512

4

2555

395

996

11,918

880

385

2,845

33,874

2,539

ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1, 2 

2) สถานศึกษาสังกัดอาชีวะ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่วิทยาลัยเทคนิคยโสธร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร และวิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา

ที่

พ.ศ.

ระดับอนุบาล

ระดับประถมศึกษา

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

1

2552

3

1043

3789

137

3

228

1983

87

2

2553

3

1036

3198

138

3

223

1889

94

3

2554

3

938

3410

138

3

212

1759

94

4

2555

3

933

3336

300

3

201

1770

88

5

2556

3

165

3,713

152

3

88

1,614

93

ที่มา : สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดยโสธร 

3) สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่

พ.ศ.

ระดับอนุบาล

ระดับประถมศึกษา

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

จำนวนโรงเรียน (แห่ง)

จำนวนครู (คน)

จำนวนนักเรียน (คน)

จำนวนห้องเรียน

1

2552

4

26

789

30

3

25

314

18

2

2553

4

29

833

32

2

25

337

20

3

2554

10

34

995

39

10

48

759

42

4

2555

10

37

1048

39

10

53

789

43

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมปกครองท้องถิ่นจังหวัดยโสธร 

5.2 ศาสนา   วัฒนธรรมประเพณี   ภูมิปัญญาชาวบ้าน
1) วัด  มีวัด 601 วัด  สำนักสงฆ์ 215 แห่ง พระสงฆ์  2,880 รูป  มีผู้นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ  99

ที่

พ.ศ.

จำนวนวัด/สำนักสงฆ์ (แห่ง)

ที่พักสงฆ์ (แห่ง)

วัดร้าง (แห่ง)

พระสงฆ์ (รูป)

จำนวนพุทธศาสนิกชน (คน)

1

2552

576

231

70

3,083

537,408

2

2553

600

227

70

3,241

537,531

3

2554

601

226

70

3,099

537,128

4

2555

605

222

70

3,091

537,300

5

2556

617

193

70

2,524

537,315

ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดยโสธร 

2) โบสถ์คริสต์  28  แห่ง   มัสยิด  1  แห่ง
3) วัฒนธรรมประเพณีแบบชาวอีสาน   โดยมีงานประเพณีบั้งไฟเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดยโสธร   เป็นงานระดับนานาชาติ   ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร    จัดในวันเสาร์-อาทิตย์  สัปดาห์ที่  2     ของเดือนพฤษภาคมทุกปี  งานแห่มาลัยจัดในช่วงวันมาฆะบูชาของทุกปี  
4) จังหวัดมีปราชญ์ชาวบ้านและมีภูมิปัญญาชาวบ้านหลากหลาย  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  (กลุ่มทำนาข้าวอินทรีย์)  สังคม  วัฒนธรรมประเพณี  สามารถช่วยถ่ายทอดการพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีได้เป็นอย่างมาก 

  5.3  การสาธารณสุข
ปี 2556 จังหวัดยโสธร   มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน  9  แห่ง   แยกเป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัด  1   แห่ง   โรงพยาบาลชุมชนระดับอำเภอ  8  แห่ง   มีเตียงรวม  620  เตียง  มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  112  แห่ง และคลินิกทุกประเภท 85 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลของเอกชน  2 แห่ง  

ที่

พ.ศ.

จำนวนโรงพยาบาล (แห่ง)

จำนวนสถานีอนามัย (แห่ง)

จำนวนคลินิก ทุกประเภท(แห่ง)

จำนวนแพทย์ (คน)

จำนวนทันตแพทย์ (คน)

จำนวนพยาบาล (คน)

จำนวนเตียง (เตียง)

จำนวนคนไข้ (คน)

1

2552

9

112

65

61

26

707

620

943,078

2

2553

9

112

66

66

27

703

620

962,193

3

2554

9

112

66

66

32

690

620

962,193

4

2555

9

112

85

71

35

744

620

958,001

5

2556

9

112

92

41

25

440

620

907.423

 

อำเภอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (แห่ง)

โรงพยาบาล

ประเภทคลินิก

 

 

แห่ง

จำนวน เตียง

เวชกรรม

เวชกรรมเฉพาะทาง

การพยาบาล

ทันต

กรรม

แพทย์แผนไทย

แพทย์

แผนไทยประยุกต์

อื่นๆ

รวม

เมืองยโสธร

21

1

370

21

21

9

8

1

-

1

56

ทรายมูล

9

1

30

-

-

4

-

-

-

-

4

กุดชุม

13

1

30

2

-

2

-

-

-

-

4

คำเขื่อนแก้ว

16

1

30

4

-

8

1

-

-

-

13

ป่าติ้ว

7

1

30

-

-

1

-

-

-

-

1

มหาชนะชัย

16

1

30

-

-

-

-

-

-

-

-

ค้อวัง

6

1

30

-

-

1

-

-

-

-

1

เลิงนกทา

18

1

60

2

-

5

1

1

-

1

10

ไทยเจริญ

6

1

10

-

-

3

-

-

-

-

3

รวม

112

9

620

29

12

36

11

2

-

2

32

ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 

บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข  มีแพทย์ 66 คน ทันตแพทย์ 32 คน  เภสัชกร 51 คน  พยาบาลวิชาชีพ  690  คน   นักวิชาการสาธารณสุข  197  คน  และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ  336  คน   รวม  1,372  คน  และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  (อสม.) 10,510  คน  เปรียบเทียบอัตรา    แพทย์  :  ประชากร  เฉลี่ย  1 : 8,164 , ทันตแพทย์  :  ประชากร  เฉลี่ย  1  :  16,839  ,  เภสัชกร  :  ประชากร  เฉลี่ย 1 : 10,565 , พยาบาลวิชาชีพ : ประชากร  เฉลี่ย 1 : 781 

ประเภทบุคลากร

สถานที่ปฏิบัติงาน

สัดส่วน

ต่อประชากร

(จ.ยโสธร)

สัดส่วน

ต่อประชากร

(ประเทศ)

สสจ.

รพท.

รพช.

รพ.สต.

รวม

แพทย์

1

37

28

-

66

     1  :   8,164

1 :   2,778

ทันตแพทย์

2

9

21

-

32

     1  :  16,839

1 : 13,525

เภสัชกร

7

22

21

1

51

     1  :  10,565

1 : 7,348

พยาบาลวิชาชีพ

4

286

242

158

690

     1  :   781

1 :    597

นวก.สธ.

46

8

20

123

197

     1  :   2,735

-

จนท.อื่น ๆ

42

95

115

84

336

     1  :   1,604

-

ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 

   จังหวัดยโสธร  มีแนวโน้มอัตราเกิดของประชากรลดลง  แต่มีอัตราตายของประชากรเพิ่มขึ้น
สำหรับสาเหตุการป่วยของผู้มารับบริการผู้ป่วยนอกของสถานบริการของรัฐทุกแห่ง  ในปี พ.ศ. 2549 – 2556  พบว่า มีการป่วยด้วยโรคระบบหายใจมากที่สุด รองลงมาคือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยในของสถานบริการของรัฐทุกแห่ง ในปี พ.ศ. 2549 – 2556 พบว่า เป็นผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคต่อมไร้ท่อมากที่สุด  รองลงมาคือความดันโลหิตสูง
สาเหตุการตาย  ประชาชนในจังหวัดยโสธรมีสาเหตุการตายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมากที่สุด  จากข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2556  พบว่า มีสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดมากที่สุด  รองลงมาคืออุบัติเหตุจากทางจราจร  และอุบัติเหตุอื่น ๆ  ภาวะติดเชื้อในร่างกาย โรคไตและไตวาย  ตามลำดับ

5.4 การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
จังหวัดยโสธรมีการป้องกันการเกิดอาชญากรรมอย่างเข้มงวด แต่ก็มีเกิดขึ้นตามภาวะสังคมแต่มีไม่มาก อยู่ในอัตราที่ควบคุมได้โดยในการจับกุมผู้กระทำผิดคดีอาญาสำคัญ จังหวัดยโสธรโดยตำรวจภูธรจังหวัดสามารถจับกุมได้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด เช่น ในปี 2556 กลุ่มที่ 1 คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ จับกุมได้ร้อยละ 82 กลุ่มที่ 2 คดีชีวิตร่างกายและเพศ จับกุมได้ร้อยละ 95 ดังตาราง การจับกุม ดังนี้

กลุ่มที่

กลุ่มประเภทความผิด

เกณฑ์จับได้ไม่ต่ำกว่า

ร้อยละ

ปี  2552

ปี  2553

ปี  2554

ปี  2555

ปี  2556

เกิด

จับ

เกิด

จับ

เกิด

จับ

เกิด

จับ

เกิด

จับ

1.

คดีอุฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ

45

9

8

18

16

12

10

4

4

16

13

2.

คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ

60

110

101

135

123

112

105

69

60

109

103

3.

คดีประทุษ ร้ายต่อทรัพย์

58

84

69

154

118

117

103

67

54

141

101

4.

คดีที่น่าสนใจ

-

51

44

108

65

72

51

47

31

102

69

5.

คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

-

1,635

2,524

2,289

3,252

3,333

4,055

1,770

2,151

4,399

3,640

ที่มา : ตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร (ข้อมูล ณ 30 ก.ย. 56) 

5.5 แรงงาน จังหวัดยโสธรมีประชากรวัยแรงงาน (16 - 60 ปี) จำนวน 371,622 คน อยู่ในภาคเกษตร อยู่ในภาคเกษตร ร้อยละ 60 และอยู่ในภาคเป็นผู้รับจ้างร้อยละ 25 และภาคอื่น ๆ ร้อยละ 15 ในแต่ละปีมีการอพยพแรงงานหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ประมาณ 100,000 คนเศษ ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก เพื่อไปรับจ้างในเมืองใหญ่ แต่ในปลายปี 2551 ถึงต้นปี 2552 เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้สถานประกอบการเลิกกิจการหรือไม่เลิกแต่ก็ลดจำนวนแรงงาน ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น ผู้จบการศึกษา ก็ไม่มีสถานประกอบการว่าจ้างจึงเกิดการว่างงานมากขึ้น ดังนั้น ในช่วงปี 2552-2556 จะมีการว่างงานจำนวนมาก จะต้องมาประกอบอาชีพการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแรงงานมากแต่แรงงานส่วนมากยังขาดทักษะและวินัย เช่น เมื่อถึงงานเทศกาลใหญ่ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ มักจะกลับบ้านกันหมด

ที่ พ.ศ. จำนวนกำลังแรงงาน (คน) จำนวนผู้มีงานทำ (คน) จำนวนผู้ว่างงาน (คน) จำนวนแรงงานรอฤดูกาล (คน)
1 2552 390,059 381,612 2,447 -
2 2553 386,140 380,129 2,451 3,560
3 2554 374,143 367,594 555 5,993
4 2555 381,752 394,434 90 14,331
5 2556 381,211 371,622 1,542 8,047

ที่มา : สำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร 5.6 สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่ผ่านมา
              จังหวัดยโสธรได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการเพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบรรลุเป้าหมายสูงสุด และทำให้ประชาชนในจังหวัดอยู่ดีมีสุข กินอิ่ม
นอนอุ่น  โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร จังหวัดได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
                  (1) การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิต จังหวัดได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงบำรุงดิน โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์และการผลิตสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชใช้เองได้ การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติของเกษตรกรตามระบบข้าวหอมมะลิอินทรีย์ นอกจากนั้น จังหวัดยังได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้แก่เกษตรกร โดยการขุดบ่อน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน การขยายเขตไฟฟ้าไปสู่ไร่นาเพื่อให้เกษตรกรใช้ในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการขุดลอกเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ การปรับปรุงระบบส่งน้ำ ต่อขยายคลองส่งน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อให้มีน้ำต้นทุนและมีระบบส่งน้ำผ่านพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ได้อย่างทั่วถึง
                  (2)  การแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน จังหวัดได้ส่งเสริมความรู้การแปรรูปข้าวโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ข้าว กล้องงอกให้แก่เกษตรกร สนับสนุนลานตากข้าว โรงคลุม เครื่องบรรจุข้าวสารแบบสุญญากาศ เครื่องสีข้าวกล้องขนาดใหญ่ เครื่องผนึกสุญญากาศขนาดใหญ่ เครื่องผนึกสุญญากาศขนาดเล็ก เครื่องอบข้าวกล้องงอก เครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็ก ก่อสร้างโรงเรือนพร้อมระบบไฟฟ้า ให้แก่กลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพและสหกรณ์ที่มีโรงสีข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแปรรูปข้าวให้มีประสิทธิภาพ ได้ต้นข้าวสารปริมาณสูงและมีคุณภาพตามมาตรฐาน GMP เพิ่มความหลากหลายของการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิคุณภาพให้มากขึ้น พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเพื่อสุขอนามัย รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
                  (3)  ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดได้ดำเนินการดังนี้
                                    - จัดให้มีการเจรจาและตกลงการค้าระหว่างสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยและอินทรีย์กับเครือข่ายสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งได้จัดแสดงและ จำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดตราด จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครนายก
                                     - ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยการนำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าปลอดภัย สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน และอาหารดี-อาหารเด่น เข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ในงาน “มหกรรมเกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร” ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด รวมทั้งรณรงค์การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ และประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้รับรองมาตรฐานตราสินค้าคุณภาพ โดยการนำกลุ่มผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย/ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานตราสินค้าคุณภาพร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า
ยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน จังหวัดได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
                  (1) ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ลำน้ำทวนฝั่งขวาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัด โดยได้จัดสร้าง โครงสร้างพื้นฐานสำหรับใช้เป็นสถานที่ในการจัดแสดงนิทรรศการแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัด ได้แก่ ก่อสร้างอาคาร พญาคันคาก ก่อสร้างประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟ นอกจากนั้น จังหวัดยังได้พัฒนาสวนสาธารณะบุ่งใหญ่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นปอดแห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร และใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น/จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
                  (2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ได้แก่ การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรซึ่งเป็นงานประเพณีประจำปีที่มีชื่อเสียงของจังหวัดและเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ในภาคอีสาน รวมทั้งเป็นประเพณีติดอันดับ 1 ใน 5 ของงานประเพณีโลกที่นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาเที่ยวชม ซึ่งการจัดงานประเพณีบุญ บั้งไฟยังเป็นสื่อสัมพันธไมตรีกับเมืองคู่มิตร คือ เมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยในงานจะมีการจัดกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย การจัดประกวดกาพย์เซิ้ง กองเชียร์ บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่สวยงาม ธิดาบั้งไฟโก้ บั้งไฟโบราณ บั้งไฟแฟนซี และบั้งไฟแสนขึ้นสูง นอกจากนี้ จังหวัดยังได้จัดงานประเพณีแห่มาลัย อำเภอมหาชนะชัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่ชุมชนในพื้นที่ได้ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
                  (3) พัฒนาหมู่บ้านวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยว โดยการส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานถนนคนเดินเมืองเก่า 200 ปี บ้านสิงห์ท่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ โดยการนำหัวหน้าส่วนราชการ/นักเรียน/นักศึกษา ศึกษาแหล่งศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่าภูไท และพักโฮมสเตย์ ณ บ้านห้องแซง อำเภอเลิงนกทา
                  (4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และบุคลากรที่มี ส่วนสำคัญต่อการท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และอาสาสมัครพิทักษ์นักท่องเที่ยว ซึ่งถือได้ว่าบุคลากรเหล่านี้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและดูแลแหล่งท่องเที่ยวในฐานะเจ้าบ้านที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก จังหวัดจึงได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว/ ผู้ประกอบการ OTOP ทางการท่องเที่ยว จำนวน 710 คน และฝึกอบรมอาสาสมัครพิทักษ์นักท่องเที่ยว จำนวน 55 คน
                  (5) ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการค้าและบริการให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยการส่งเสริมให้ผู้ผลิตชุมชนจัดทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสร้างความประทับใจและการจดจำให้กับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการรักษาคุณภาพของสินค้า และเป็นช่องทางในการสื่อสารกับผู้ซื้อ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเพิ่มยอดจำหน่ายได้โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จังหวัดได้ออกแบบและจัดทำบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ผลิต OTOP ซึ่งเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดยโสธร “ยโสธร...ดินแดนแห่งวิถีอีสาน” จำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ โดยคัดเลือกจากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และผลจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มทอผ้าฝ้ายลายขิดทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านโนนยาง หมู่ที่ 3 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ได้รับรางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่นระดับประเทศ ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย จากการประกวด Province Star OTOP : PSO เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยได้รับมอบรางวัลจากนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ยุทธศาสตร์ : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จังหวัดได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
                  (1) ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง รักษาและอำนวยความปลอดภัยสายทางให้ชุมชน โดยการก่อสร้าง ซ่อมแซม และปรับปรุงถนนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้ ประชาชนและเกษตรกรได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจรและขนส่งสินค้าการเกษตร
                  (2) พัฒนาแหล่งน้ำโดยการขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อการเกษตรรวมทั้งป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง การจัดหาน้ำใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค – บริโภค โดยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลให้ประชาชนมีน้ำสะอาดและได้มาตรฐานสำหรับการอุปโภค-บริโภค
ยุทธศาสตร์ : เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
                  (1)  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านด้วยการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างความเข้าใจแนวทาง/หลักการขับเคลื่อนหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงแก่
แกนนำหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 36 หมู่บ้าน คัดเลือกครอบครัวพัฒนาที่สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมสมควรเป็นแบบอย่างหมู่บ้านละ 30 ครอบครัว เพื่อนำแนวทางปฏิบัติไปขยายผลสู่ครอบครัวอื่นด้วยการจัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนดำเนินชีวิต และสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม
                  (2)  ส่งเสริมและสนับสนุนให้บ้านศิริพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง เป็นศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตและถ่ายทอดความรู้ให้แก่หมู่บ้านข้างเคียง โดยการส่งเสริมความรู้ให้แก่เกษตรกรในการปลูกพืชระยะสั้น การเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สนับสนุนการปลูกพืชหอมแดงอินทรีย์ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร
ยุทธศาสตร์ : อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดได้ปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้มีสภาพสมบูรณ์สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มศักยภาพเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ และใช้ในการเกษตรและ
การอุปโภค-บริโภค  รวมทั้งพัฒนาให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติสำหรับเป็นแหล่งอาหารและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ : เสริมสร้างความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย จังหวัดยโสธรเห็นว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนและสังคม ดังนั้น จังหวัดจึงดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาด ดังนี้
                  (1) จัดตั้งชุดปฏิบัติการสืบสวนสอบสวนปราบปรามการค้าการแพร่ระบาดยาเสพติด เพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข่าวเพื่อจับกุมผู้เกี่ยวข้อง
                  (2) ประชาคมค้นหาผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน และสถานศึกษาเป้าหมาย โดยการอบรมแกนนำผู้ประสานพลังแผ่นดิน (ตาสับปะรด) อบรมพุทธบุตรให้แก่
นักเรียน/นักศึกษา อบรมเยาวชนกลุ่มเสี่ยงนอกสถานศึกษา จัดค่ายบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดระบบสมัครใจ จัดค่ายบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดระบบต้องโทษ จัดค่ายบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดระบบบังคับบำบัด อบรมเกณฑ์มาตรฐานการคัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้แก่เจ้าหน้าที่